วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

เลี้ยงกุ้งโกสในห้องแอร์

เลี้ยงกุ้งโกสในห้องแอร์


คลิปจากคุณ Youmemoy Kesan

ผมเพิ่งเริ่มเลี้ยงกุ้งเครฟิช ขนาดนิ้วนึง อยากรู้ว่าจะเลี้ยงในห้องแอร์ได้ไม๊ครับ เปิด 20-25'C
เปิดแอร์วันละประมาณ 3 ชั่วโมง

อีกเรื่องคือ อ๊อก เลี้ยงตัวเดียวตู้ 12" ไม่ให้อ๊อกได้ไม๊ แต่เป็น น้ำตื้นๆแทน แบบว่าสูงกว่าหัวมันสัก 1นิ้วครึ่ง พยายามอย่าให้อุณหภูมิแกว่งมากครับ ยิ่งถ้าอุณหภูมิแกว่งๆมาก แล้วน้ำยิ่งน้อยเข้าไปอีก

ค่าในน้ำเปลี่ยนแปลงง่ายมาก กุ้งอาจจะป่วยได้ครับ น้ำน้อยๆ เลี้ยงยากนะครับ ต้องดูแลเปลี่ยน ถ่ายน้ำบ่อยๆ เพราะสามารถรับของเสียได้น้อย ถ้าตู้ค่อนข้างใหญ่หรือบ่อ อาจจะใส่น้ำไม่สูงมากได้ แต่นี่ตู้ก็เล็ก น้ำก็น้อย คงไม่เหมาะสมครับ ในส่วนของขนาดตู้นี่ถ้าเพิ่มได้มากกว่านี้ก็ยิ่งดีครับ สำหรับ ผู้เลี้ยงมือใหม่ บางทีเราคิดว่าเริ่มจากตู้เล็กๆ แล้วจะยิ่งเลี้ยงง่าย นั้นเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องครับ คือถ้าตู้ใหญ่ จุน้ำได้มากนี่ จะทำให้ผู้เลี้ยงๆ สิ่งมีชีวิตได้ง่ายกว่าตู้เล็กๆ ครับ เพราะค่าต่างๆในระบบเปลี่ยนแปลงได้ช้ากว่า  ยังไงลองอ่านกระทู้เพิ่มดูนะครับ อาจจะได้ไอเดียเพิ่มเติมในการจัด หรือ ตกแต่งตู้เลี้ยงให้สวยงาม

เราเลี้ยงได้ครับ ผมก็เลี้ยง เปิดแอร์ทั้งวันด้วย แต่ต้องมีปรอทวัดอุณหภูมิในน้ำตลอดเวลาด้วยเสมอ ไม่ควรให้ค่าต่ำสุดและสูงสุดเกิน 5 ไป สัตว์น้ำจะปรับตัวไม่ทันจากการที่อุณหภูมิแปรผันมากไป
เช่น คุมให้ได้ช่วง 23-28 เป็นต้น (ตู้ผม 24 นิ้ว+ ทุกตู้นะครับ อุณหภูมิไม่แกว่งดี) อาจจะคิดว่ากุ้งตัวเล็กๆ ใช้เนื้อที่ไม่เยอะ แต่จริงๆแล้วการเลี้ยงสัตว์น้ำในที่แคบเกินไป  จะส่งผลกระทบในหลายๆด้าน เช่น โตช้า น้ำเสียเร็ว อุณหภูมิแกว่ง  และที่สำคัญ กุ้งเครมีขนาดโตเต็มที่ได้ 4-6 นิ้ว ตอนนี้เลี้ยงได้ ต่อไปก็ต้องหาใหม่อยู่ดี ดังนั้นตู้ขนาด 12 นิ้ว ไม่พอแน่ครับ อย่างน้อยควร 24 นิ้วขึ้นไปนะครับ  ความจริงมีเพียงหนึ่ง...
ส่วน อ๊อกซิเจน ถ้าน้ำไม่สูงมาก กุ้งโผล่หัวมาเหนือผิวน้ำได้ ก็อาจไม่ใช้ก็ได้ เพราะเค้าจะหายใจจากอากาศเหนือน้ำแทน แต่ระวังน้ำแห้ง น้ำเย็นจัดไป กุ้งตายนะครับ เปิดแอร์นี่น้ำระเหยเร็วขึ้นนะ จะบอกให้  วะฮ่ะๆๆๆ (ถ้าเหงือกกุ้งแห้ง กุ้งจะขาดอากาศตายได้)

#เลี้ยงกุ้งโกสในห้องแอร์ , #เลี้ยงกุ้งโกสไม่ใช้ออกซิเจน, #เลี้ยงกุ้งโกส อุณหภูมิ




วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

วิธีเลือกอาหารสำหรับกุ้ง

วิธีเลือกอาหารสำหรับกุ้ง               


            เราจะให้อาหารตามชนิดที่เราอยากให้กุ้งเป็นครับ เช่นอยากให้กุ้งก้ามแดงของเราเป็นสีฟ้าบลูล๊อบสเตอร์ก็ให้กินอาหารประเภทจำพวกสัตว์ที่มีโปรตีนเยอะๆอย่างพวกเพรียงทราย นอนแดงหรือไส้เดือนเป็นต้น ซึ่งนอกจากเรื่องพวกนี้แล้ว อาหารของน้องกุ้งที่นิยมให้กันจะอยู่ในจำพวกอาหารเม็ดแบบจมน้ำกันซะส่วนใหญ่ ทีนี้ล่ะครับมือใหม่ก็เกิดคำถามว่า จะให้น้องกุ้งเครฟิช กินอะไร กินแบบไหนถึงจะดี ? วันนี้พะเยา เครย์ฟิชจะพาใปหาคำตอบกันครับ

1. อาหารกุ้ง / อาหารปลา จมน้ำ

            ตอนที่ได้น้องกุ้งมาแล้ว? แต่ไม่รู้ว่าจะให้อะไรกิน? บางคน ก็อาจนึกถึงอาหารปลาที่ลอยๆ น้ำ ที่คนขายบอกว่าให้ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วอาหารปลาส่วนใหญ่นั้น ถ้ากุ้งสามารถหยิบถึง ก็สามารถกินได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว อาหารปลาลอยน้ำ กุ้งไม่สามารถดีดตัวไปหยิบกินได้ง่ายๆ หรืออาจจะไม่ได้เลย แล้วพออาหารอืดตกลงมาที่พื้น ส่วนใหญ่ กุ้งก็จะไม่ชอบกิน หรือ ไม่กินแล้ว และน้ำในที่เลี้ยงก็มักจะขุ่นเสียได้ง่าย ถ้ามีอาหารเหลือตกค้างในระบบเยอะๆ นอกจากนี้ แร่ธาตุส่วนใหญ่ ยังไม่เหมาะสมกับตัวของกุ้ง เหมือนกับอาหารที่ทำมาให้กุ้งโดยเฉพาะอีกด้วย แต่ว่าก็มีอาหารปลาหลายๆชนิดที่สามารถให้กุ้งกินเป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน ซึ่งก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมให้กับน้องกุ้งได้เช่นกันครับ เช่น อาหารที่มีส่วนประกอบของตะไคร่น้ำ เช่น อาหารสำหรับปลาแพะ หรือ ปลาซัคเกอร์ , อาหารจมน้ำที่มีโปรตีนสูง เช่น อาหารสำหรับปลากินเนื้อแบบจม เป็นต้น ซึงเมื่อเราให้ควบคู่ไปกับการให้อาหารกุ้งตามปกติแล้ว ก็จะเป็นการดี กับตัวกุ้งมากขึ้นครับ เพราะจะได้สารอาหารหลากหลายชนิดมากกว่าเดิม

2. อาหารสดตระกูลพืชน้ำเช่น สาหร่าย , แหน , ผำ

               สาหร่ายนับเป็นอาหารที่ยอดฮิต อีกชนิดหนึ่ง สำหรับผู้ที่เลี้ยงกุ้ง โดยที่มีผู้เลี้ยงกุ้งหลายราย นิยมให้อาหารชนิดนี้ติดเอาไว้ประจำที่เลี้ยง เนื่องจากเป็นอาหารที่มีชีวิต สามารถเติบโต ให้กุ้งกินได้เรื่อยๆ ถ้ากุ้งมีปริมาณไม่มากเกินไปนัก เป็นอาหารยามว่างให้กุ้งกินเวลาที่กุ้งหิว โดยที่น้ำไม่เสีย และ ในสาหร่าย ยังมีสารคลอโรฟิลด์ และ สไปรูลิน่า ที่มีส่วนในการกระตุ้นให้สัตว์น้ำมีสีสันสวยงามยิ่งขึ้นด้วย อีกทั้ง ถ้ามีในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยในเรื่องของคุณภาพน้ำภายในที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี เพราะสาหร่าย สามารถดูดซึมของเสียต่างๆในระบบ นำไปเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงต้นได้

3. แหน

                 แหนก็เป็นพืชน้ำ ที่กุ้งเครฟิช ชอบกินเช่นกัน เป็นอาหารที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นบ้านเรา จากประสบการณ์ในการเลี้ยงของกระผมพบว่า แหนเป็นพืชน้ำที่กุ้งชอบกินอีกชนิดหนึ่ง แต่พื้นที่ๆสามารถให้กุ้งสามารถจะกินได้ อาจจะต้องเป็นบ่อที่ลาดเอียง หรือตู้ที่น้ำไม่สูงนัก กุ้งจะสามารถกินได้ง่ายหน่อย
3.ผำ เป็นพืชน้ำขนาดเล็กที่สุดในโลก มีเบต้า แคโรธีน สูงมาก สามารถใช้เป็นอาหารเร่งสีกุ้ง หรือ ปลา ได้เป็นอย่างดี ในวงการๆเลี้ยงปลาสวยงาม เช่น ปลาทอง นิยมใช้กันมาก แต่สำหรับการนำมาใช้กับกุ้งนั้น อาจจะเหมาะสมสำหรับอ่างเลี้ยงบางประเภท เช่นอ่างปูนซีเมนต์ ที่กุ้งอาจจะปีนข้างอ่างมากินได้ง่าย แต่ถ้าเป็นตู้กระจกแล้ว กุ้งอาจจะปีนมากินได้ลำบาก ยกเว้นมีการจัดที่เลี้ยง ให้กุ้งมีที่ปีน เช่น ขอนไม้สูงๆ อย่างไรก็ตาม สามารถนำผำ มาเป็นพืชน้ำ ประดับในที่เลี้ยง และ ช่วยในเรื่องของคุณภาพน้ำได้เช่นกันครับ นับว่าเป็นประโยชน์ทางอ้อมอีกทางหนึ่ง

4. อาหารสด ตระกูลสิ่งมีชีวิต

                 หนอนนก , หนอนยักษ์ เป็นอาหารที่ยอดฮิต อีกหมวดหมู่หนึ่ง สำหรับผู้เลี้ยงน้องกุ้งในบ้านเรา อาหารชนิดนี้นั้น จัดเป็นอาหารที่มีโปรตีน และมีไขมันสูง ผู้เลี้ยงสามารถนำวิตามิน มาคลุกกับผัก แล้วเอาให้หนอนนกกิน ก่อนนำไปให้กุ้งทานได้ครับ แต่การให้หนอนนก เป็นอาหารกุ้ง อาจจะดูโหดร้ายซักหน่อย สำหรับ ผู้เลี้ยงที่ใจอ่อน และ บางคน ( เช่นกระผม ) ก็อาจจะไม่ถูกโรคกับบรรดาตัวยึกยือเท่าไหร่ พอจับๆ สัตว์พวกนี้แล้วรู้สึกสยิวในหัวใจอย่างบอกไม่ถูก ก็อาจจะไม่ใช้ แต่ก็จัดว่าเป็นอาหารสด ที่หาได้ง่าย และ ปลอดภัยจากเชื้อโรคอีกชนิดหนึ่งครับ อย่างไรก็ตาม การให้หนอนนกเป็นอาหาร อาจจะเหลือพวกเศษซาก หรือ เศษเปลือกต่างๆ ในระบบ ดังนั้นควรจะหมั่นช้อนออก และ ในที่เลี้ยง ควรจะมีระบบกรองที่ดีในระดับหนึ่ง เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ

5. ไส้เดือนน้ำ


               เป็นอาหารสด ที่กุ้งชื่นชอบมากอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีกลิ่นคาวสูง อย่างไรก็ตาม ผู้เลี้ยงควรทำการฆ่าเชื้อโรคก่อน โดยการนำไปแช่ด่างทับทิมเจือจาง ซักระยะ แล้วล้างออกให้หมด ก่อนนำไปให้กุ้งครับ อาหารชนิดนี้ มีข้อด้อยตรงการเก็บรักษา ซึ่งทำได้ไม่นานนัก ต้องหมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยๆ แต่เป็นอาหารที่เหมาะสมมากๆ สำหรับกุ้งในทุกวัย โดยเฉพาะ กุ้งในวัยอ่อน และ กุ้งขนาดเล็ก

6.หนอนแดง 

               อาหารสดสำหรับกุ้งยอดฮิตอีกชนิดหนึ่ง ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง เนื่อง จากหาซื้อได้ง่าย และ มีราคาประหยัด เป็นอาหารที่มีกลิ่นคาวสูง เป็นที่ชื่นชอบของกุ้ง อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรซื้อหนอนแดงกักตุนเอาไว้เป็นปริมาณมากๆ เนื่องจากอาจจะเกิดอาการเสื่อมคุณภาพได้ง่าย อีกทั้งควรจะเลือกซื้อจากเจ้าที่เชื่อถือได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการได้หนอนแดงที่ไม่มีคุณภาพ และ มีสิ่งปนเปื้อนที่สูง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อน้องกุ้งได้

7. ไรทะเล

                 เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่ง ที่หลายๆคนนิยมให้น้องกุ้งทาน อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้ปริมาณมาก เพราะหากเมื่อเขาตายแล้ว กุ้งเก็บกินไม่หมด อาจจะเกิดสภาวะน้ำเน่าเสียเฉียบพลันได้ และ ก่อนให้ควรล้างน้ำเกลือให้สะอาด เพราะเกลือ ถ้ามีมากๆในน้ำที่เลี้ยงกุ้ง อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นให้กุ้งลอกคราบ ในตอนที่ยังไม่ค่อยพร้อมได้ครับ ส่วน ไรน้ำจืด นั้นมีขนาดเล็ก กุ้งค่อยข้างที่จะเก็บกินลำบาก และ กะปริมาณได้ยาก มีโอกาสทำให้น้ำเสียได้ง่าย ทำให้ไม่อยากแนะนำให้นำมาเป็นอาหารกุ้งซักเท่าใหร่ครับ นอกจากนี้ยังมีเพรียงทะเล ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง กุ้งที่ดีมากๆ เพราะนอกจากจะมีโปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารที่สูงแล้ว ยังมีสรรพคุณช่วยในการบำรุงระบบสืบพันธุ์ของกุ้ง และ สัตว์น้ำ หลายๆชนิดได้ครับ แต่ข้อจำกัดก็คือ เพรียงทะเล แบบสดๆ หาได้ยาก มีราคาสูงพอสมควร อีกทั้งเพรียงทะเลยังมีรูปร่างลักษณะ ที่อาจจะทำให้หลายๆคน ขยะแขยง ไม่กล้าให้ ซึ่งในจุดนี้ ปัจจุบันเห็นมีผู้ผลิตอาหารเสริมสำหรับกุ้งบางราย มีการผลิตเพรียงทะเล ในลักษณะการสกัดเป็นผงบ้างแล้ว น่าจะทำให้คนที่รักน้องกุ้งเครฟิช สามารถจัดหามาบำรุงน้องกุ้งแสนรักของตัวเองได้ง่ายขึ้น

การให้อาหารแบบไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย

                 หากเป็นอาหารเม็ดให้เราคำนวนต่อตัว โดยกุ้งก้ามแดงไซด์ขนาด 3-6 นิ้วจะกินประมาณ 4-8 เม็ดต่อวันเท่านั้น ห๊ะ! อะไรนะ แค่ 4-8 เม็ดเองหรอ อ่านไม่ผิดหรอกครับแค่นั้นจริงๆ หากเราให้อาหารให้เหมาะสมกุ้งกินหมดไม่เหลือก็จะทำให้น้ำไม่เน่าเสียได้ง่ายครับ หรือหากเหลืออีกวันมาเราก็สามารถตักออกมาทิ้งได้ นอกจากอาหารเม็ดแล้ว อาหารประเภทอื่นๆก็เหมือนกัน พยายามอย่าให้อาหารเหลือจะดีที่สุดครับ

                 ส่วนอาหารเสริมอื่นๆ เช่น พวกวิตามิน , สาหร่ายสไปรูลิน่า ทั้งแบบผง และ แบบน้ำ และ อาหารเสริมอื่นๆ ปัจจุบัน มีการพัฒนาไปมาก สำหรับผู้ที่ต้องการนำมาบำรุงกุ้ง แม้ส่วนใหญ่ จะพัฒนา เพื่อนำมาใช้ในการเลี้ยงกุ้งแคระ ที่มีราคาสูง เช่น พวกกุ้งเรดบี แต่ก็สามารถซื้อหา มาใช้ผสมอาหารเลี้ยงน้องกุ้งเครฟิชได้เป็นอย่างดีเลยหล่ะครับ

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

การจดทะเบียนเพื่อขอเลี้ยงกุ้งโกส และ กุ้งก้ามแดง

วันนี้จะมาว่าเรื่อง การจดทะเบียนเพื่อขอเลี้ยงกุ้ง



             ก่อนจะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งเครฟิช เพื่อจำหน่ายนั้น ต้องไปทำการขออนุญาติขึ้นทะเบียนหรือจดทะเบียนให้ถูกต้องในการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงกับกรมประมงก่อน เพราะกรมประมงได้ออกกฏหมายคุ้มครองเกี่ยวกับกุ้งก้ามแดงให้เป็นสัตว์คุ้มครองพิเศษ เนื่องจากว่ากุ้งก้ามแดงไม่ใช่สัตว์ประจำท้องถิ่นของประเทศไทย ภาษาอังกฤษคือ เอเลี่ยนสปีชีส์

            หากมีการนำกุ้งก้ามแดงไปปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติแล้วเกิดการแพร่กระจาย ก็จะเกิดความเสียหายให้กับพืชหรือสัตว์น้ำในประเทศให้เกิดความเสียหายและสูญพันธ์ุได้ ดังนั้นกรมประมงจึงได้ออกกฎควบคุ้มไว้ในเบื้องต้น กรมประมงก็จะทำการประกาศในหลายๆพื้นที่ หากพื้นที่ไหนที่มีการประกาศจากกรมประมงแล้วยังเพิกเฉยไม่ไปขึ้นทะเบียนภายใน 60 วัน จะมีความผิดและจะต้องมีการเสียค่าปรับและหากมีการตรวจสอบย้อนหลังพบว่ามีการค้าขายเกี่ยวกับกุ้งก้ามแดงเกิดขึ้น ท่านจะเสียค่าปรับเป็นเงินไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว

              พูดถึงเรื่องที่ว่ากุ้งก้ามแดงนั้น หลายๆคนที่เลี้ยงอยู่จะรู้ดีว่า มันไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยต่อระบบนิเวศน์อย่างที่โดนกล่าวหาเลย นอกจากจะไม่ได้เป็นผู้ล่าแล้ว ตัวมันเองนั้นแหละที่จะเป็นผู้ถูกล่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การไปแจ้งลงทะเบียนเลี้ยงกุ้งเอาไว้จะดีกว่า ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็นกระทำผิดต่อสัตว์ควบคุมอย่างกุ้งก้ามแดงครับ โดยขั้นตอนและการเตรียมเอกสารไปขอลงทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามแดงมีดังนี้

สถานที่การขอจดทะเบียน

              สำนักงานประมงในพื้นที่ประจำอำเภอ : ท่านสามารถไปจดทะเบียนกับสำนักงานประมงในพื้นที่ของท่าน ที่ท่านจะทำการเพาะเลี้ยง โดยจะมีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่ว่าเราเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในลักษณะใด เลี้ยงในบ่อดินหรือเลี้ยงในบ้านแบบในตู้ปลาหรือในกล่อง เจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามแล้วก็กรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มการขอจดทะเบียน เราต้องแจ้งจำนวนของกุ้งก้ามแดงที่เราเลี้ยงให้เจ้าหน้าที่กรอก และก็จะมีวันเวลาในการที่เราเริ่มเลี้ยง หากต้องการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายจะมีกฏและข้อแนะนำในการเลี้ยงแก่ผู้ที่เพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่าย ไม่ยุ่งยากครับ

เอกสารในการจดทะเบียนเลี้ยงกุ้งก้ามแดง

               กรณีเป็นบุคคลธรรมดา

                     1. สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ
                     2. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ

              ตอนผมเข้าไปจดทะเบียนเพื่อขอเลี้ยงกุ้งก้ามแดงนั้นผมไม่ได้เตรียมข้อ 3-4 ไป แต่ก็จดได้ ง่ายมาก เจ้าหน้าที่จะถามนิดหน่อย ถามว่าเลี้ยงที่ไหน บ่อดินหรือบ่อปูนจากนั้นก็จะมีคำแนะนำมาให้แล้วก็มีแบบฟอร์มแบบด้านบนมาให้เรากรอก กรอกเสร็จก็ให้เจ้าหน้าที่ก็เซ็นชื่อรับรองก็เป็นอันเสร็จ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที

               กรณีเป็นนิติบุคคล

                        1. สำเนารับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
                        2. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ
                        3. ผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท หรือของหุ้นส่วนของผู้จัดการ หรือผู้แทนอื่นใดของนิติบุคคลนั้น แล้วแต่กรณี

แบบฟอร์มตัวอย่าง





             นอกจากนี้แล้วกรมประมงยัง มีข้อยกเว้นสำหรับคนที่เลี้ยงกุ้งก้ามแดงไว้เพื่อดูเล่น ไม่ต้องไปจดทะเบียน เนื่องจากเป็นสัตว์น้ำประเภทสวยงาม แต่หากใครที่คิดว่าเลี้ยงไว้ดูเล่นแล้วในอนาคตกุ้งอาจมีการขยายพันธ์ุขึ้นมา ซึ่งอาจมีการนำไปจำหน่ายแบบนี้ผมแนะนำว่าให้ไปจดทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงดีกว่า เผื่อจะไม่ได้ต้องมาปวดหัวกับปัญหาที่ตามมาในอนาคตครับ แต่ถ้าคิดไว้แล้วว่ายังไงๆก็จะไม่จำหน่าย เลี้ยงไว้ดูเล่นหรือไว้เป็นอาหารในครอบครัวแบบนี้ก็ไม่ต้องไปจดทะเบียนครับ หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะเลี้ยงกุ้งไม่มากก็น้อยนะครับ

วิธีเลี้ยงกุ้งเครฟิช ฉบับย่ออ่านกันง่ายๆ EP 1

การเลี้ยงกุ้งเครฟิช ( Crayfish ) กุ้งเครฟิชคืออะไร


         กุ้งเครฟิช หมายถึงกุ้งมังกรหรือล็อบเตอร์น้ำจืด ( Fresh–water lobster ) เป็นคนละชนิดกับกุ้งมังกรหรือ ล็อบเตอร์น้ำเค็ม

         เครฟิช จะมีเปลือกหนาเป็นชุดเกราะคลุมส่วนหัว-อกและลำตัว ส่วนขา  มี 2 ประเภทคือขาเดินและขาว่ายน้ำ สำหรับขาเดินจะมี 5 คู่ด้วยกัน ขาเดินคู่แรกสุดเป็นก้ามที่แข็งแรงใหญ่ไว้ป้องกันตัวและต่อสู้  ส่วนขาว่ายน้ำนั้นจะเป็นแผ่นแบนๆ

ถิ่นที่อยู่ในธรรมชาติ

         กุ้งเครฟิช มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเซียตะวันออก และออสเตรเลีย ปัจจุบันมีการค้นพบมากกว่า500 ชนิดแล้ว โดยมากกว่าครึ่งมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ในธรรมชาติกุ้งเครฟิชจะอาศัยอยู่ตามโขดหินหรือใต้ขอนไม้อยู่ในทั้งลำธาร หนองน้ำ และทะเลสาป

          กุ้งเครฟิชในโลก แบ่งออกเป็นหลายตระกูล ( Genus)  แต่ในที่นี้เราจะขอจำแนกกลุ่มของเครฟิชที่มีในบ้านเราออกเป็น  3 สาย  เพื่อจะได้เข้าใจง่าย ดังนี้

          สายที่ 1 คือ Procambarus.  บ้านเรานิยมเรียกกุ้งสาย พี.  ที่ฟาร์มเรียก กุ้งก้ามหนาม แม่ค้าเรียกกุ้งสี  ที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาและยุโรป

          สายที่ 2 คือ Cherax. บ้านเรานิยมเรียกกุ้งสาย ซี. หรือกุ้งก้ามเรียบ ที่ฟาร์มเรียก กุ้งป่า เพราะส่วนมากจับมาและมีถิ่นกำเนิดในโซน ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย

          สายที่ 3 คือ Cambarellus.  บ้านเราเรียกกุ้งเครแคระ  เพราะมีขนาดเล็ก 3-4 ซม.

หลักการเลี้ยงกุ้งเครฟิช 
           กุ้งเครฟิชมีหลักการเลี้ยงที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งก็คือดัดแปลงมาจากอุปนิสัยและการอยู่อาศัยของมันเองคือ
           1.โดยธรรมชาติ กุ้งทุกชนิดชอบออกหากินในเวลาคืน ไม่ชอบแสง ดังนั้นกลางวันอาจจะนอนหรือหลบทั้งวัน  จึงต้องการที่หลบซ่อนและปิดบังจุดที่กุ้งจะปีนหลบหนีได้  ยกเว้นกุ้งที่ได้รับการเพาะเลี้ยงในบ้านเราจะคุ้นเคยกับการเลี้ยงและฝึกอาหาร

           2.มีก้ามเป็นอาวุธไว้ต่อสู้ป้องกันตัวเอง กุ้งตัวผู้จะมีขนาดของก้ามที่ใหญ่โตสง่างาม  สีสรรสวยงามและแข็งแรงกว่ากุ้งตัวเมีย

           3. กุ้งอ่อนแอที่สุดเวลาลอกคราบ  มักจะถูกรุมทำร้ายหรือจับกิน  ดังนั้นอาหารต้องพอเพียง  ตู้ต้องกว้างเพียงพอและมีที่หลบซ่อนที่ปลอดภัย

           4.กุ้งแยกกันกินแยกกันอยู่หรืออาจจับคู่ในระยะสั้นๆ จึงไม่ควรเลี้ยงปนกันหลายตัวในที่แคบๆ ส่วนมากจะกุ้งจะไม่จำว่าเป็นคู่ของมัน ถ้าหิวหรือลอกคราบอาจทำร้ายกันได้เสมอ
       
ตู้เลี้ยงและอ่างเลี้ยงกุ้ง
           1.เราสามารถเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในภาชนะใดๆก็ได้ ที่มีการถ่ายเทน้ำที่ดี  ไม่ร้อนเกินไป อุณหภูมิน้ำ ประมาณ  23 -28 องศา  อาจจะเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำก็ได้  น้ำครึ่งตู้ น้ำเต็มตู้ก็ได้ หากจะเลี้ยงหลายๆตัวแต่ต้องกว้างขวางเพียงพอ  กุ้งใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว 1 ตัว ใช้พื้นที่อย่างน้อย 1  ฟุต

           2.ถ้าจะเลี้ยงหลายตัวควรเลือกเลี้ยงกุ้ง สายเดียวกัน ไซซ์ไล่เลียกัน เพื่อให้มันสามารถปกป้องตัวเองได้  มิเช่นนั้นกุ้งตัวเล็ก มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกจับกิน

           3.ที่หลบซ่อนใช้ขอนไม้ กระถางดินเผา กระถางต้นไม้แตกๆ อุปกรณ์ที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆให้กุ้งหลบอาศัยในเวลากลางวัน กุ้งใหญ่  

          4.ปิดฝาหรือจุดที่กุ้งจะปีนหนีได้

เลี้ยงลูกกุ้งลงเดิน อย่างไร ให้โตเร็ว

เลี้ยงลูกกุ้งลงเดิน อย่างไร ให้โตเร็ว



ความรู้ดีจาก ชาวร็อคบอกเล่า หากชอบ กดติดตามจ้า

อาการที่ให้ลูกกุ้งลงเดินจะเป็น หนอนแดง 
ไม่ค่อยให้กินสาหร่าย เพราะว่าจะทำให้ กุ้งตัวเหลืองครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร ทำไมถึงลอกคราบไม่ผ่าน

การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร 

การลอกคราบนั้นถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการเจริญเติบโตของกุ้ง เครย์ฟิชเลยทีเดียวครับ การลอกคราบนั้นแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตขึ้น ลูกกุ้งเล็กๆ อาจลอกคราบได้บ่อยถึงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเลยทีเดียว โดยระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะค่อยๆ ยาวนานกว่าเดิมเมื่อกุ้งเติบโตขึ้น ยิ่งโตขึ้นความถี่ในการลอกคราบก็ยิ่งน้อยลง โดยกุ้งเครย์ฟิชที่โตเต็มที่นั้นอาจลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น
การสังเกตุกุ้งที่จะลอกคราบ

ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่กุ้งเครย์ฟิชจะลอกคราบ เค้าจะกินอาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มทึบ หรือสีเข้มขึ้นนั่นแหละครับ และกุ้งเครย์ฟิชนั้นก็จะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นกุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวที่อ่อนนิ่ม และอ่อนแอมาก เมื่อได้ที่เหมาะสมแล้วเจ้ากุ้งเครย์ฟิชก็จะค่อนข้างอยู่นิ่งๆ รอเมื่อถึงนาทีก่อนที่จะลอกคราบ บางตัวเมื่อจะถึงนาทีที่จะสลัดเปลือกเก่าออกนั้น ก็อาจหาอะไรกิน กินทุกอย่างที่ขวางหน้าเสมือนกับตุนเสบียงเอาไว้นั่นเอง

อวัยวะที่หายไป จะกลับมาดังเดิม

ไม่ว่าจะเป็นก้าม ขาเดิน หรือขาสำหรับว่ายน้ำที่หลุดหักไปจากการต่อสู้ การขนย้าย หรือการสลัดทิ้งครั้งก่อน กุ้งเครย์ฟิชสามารถซ่อมแซมโดยการสร้างขึ้นมาใหม่เองได้ โดยผ่านกระบวนการลอกคราบ ในกรณีที่เป็นอวัยวะชิ้นใหญ่อย่างก้าม อาจจะต้องใช้เวลาลอกคราบถึง 2-3 ครั้ง ถึงจะสามารถสร้างก้ามใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์และขนาดเท่าเดิมได้ ส่วนอวัยวะเล็กๆ น้อยๆ อย่างหนวด หรือขาเดินนั้น การลอกคราบเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เหมือนเดิม ทั้งนี้ กุ้งสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หมด ยกเว้นดวงตา
เมื่อผู้เลี้ยง สังเกตเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรทำการรบกวน เพราะว่าอาจเป็นการทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบ ซึ่งเมื่อกุ้งเครย์ฟิชตกใจจะทำให้กระบวนการลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ามักจะยังติดอยู่ในขณะที่เปลือกชุดใหม่ก็เริ่ม แข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เปลือกสองชั้นนั้นซ้อนทับกันอยู่ จึงอาจจะทำให้ก้ามชุดใหม่มีการขึ้นผิดรูป บางทีอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากพลั้งเผลอไปแต่น้องกุ้งยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจฟูมฟาย รอลอกคราบครั้งต่อๆ ไปก็แล้วกัน หวังว่าคงกลับมาดีดังเดิมในไม่ช้าครับ
ที่มา RCIC Society

ความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับการลอกคราบของกุ้ง























องค์ประกอบหลักของเปลือกส่วนใหญ่ประมาณมากกว่า 75% 
         จะเป็นไคติน ที่เหลือจะเป็นพวกแร่ธาตุ เกลือ โปรตีนและไขมัน โดยขบวนการลอกคราบของกุ้งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุกุ้ง, ปริมาณสารอาหารที่ จำเป็น, ความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและตัวกุ้ง รวมทั้งผลกระทบเชิงลบต่างๆ ที่ชะงักการกินอาหารของกุ้ง ในช่วงระหว่างที่กุ้งลอกคราบจะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ดังนี้การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาที่เกิดขึ้นในวงจรการลอกคราบ
1. ระยะก่อนการลอกคราบ (Premolt) มีการเปลี่ยนแปลงคือปลาย ระยะก่อนการลอกคราบกุ้งจะไม่กินอาหาร จะสังเกตได้ว่ากุ้งเริ่มกินอาหารไม่หมด แต่กุ้งจะดึงสารอาหารและพลังงานจากอาหารที่สะสมไว้ที่ตับมาใช้แทน การสร้างคราบใหม่ จะเริ่มสร้างไคตินจากอาหารที่สะสม ไกลโคเจนที่ถูกสะสมไว้จะลดลงเนื่องจากถูกนำไปสร้างไคตินในการพัฒนาให้ เปลี่ยนเป็นเปลือกใหม่ ในระยะนี้จะพัฒนาเข้าสู่ระยะลอกคราบเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหารที่จะพัฒนาเป็นเปลือกใหม่หากกุ้งได้รับสารอาหารและเปลี่ยนเป็นไคติ นได้มากก็จะลอกคราบได้เร็ว แต่ในกรณีหากเกิดปัญหาการกินชะงัก หรือสารอาหารไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไคติน ในเปลือกใหม่ช่วงระยะเวลาในการลอกคราบ ก็จะยืดออกไป3-5 วัน ระยะนี้ความต้องการออกซิเจนของเซลล์จะเพิ่มมากขึ้น จะมีการดูดซึมพวกแร่ธาตุและสารอินทรีย์ต่างๆ ที่สะสมอยู่ที่เปลือกเก่ากลับเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านระบบเลือด ทำให้คราบเก่าอ่อนนุ่มลง
2. ระยะลอกคราบ (Intermolt) มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ใน ระยะนี้กุ้งจะหยุดการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ปริมาณกลูโคส, โปรตีนและไขมัน ในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากกุ้งต้องใช้พลังงานมากในการลอกคราบ เมื่อลอกคราบเสร็จแล้วจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดูดซึมจากกระแสเลือดและเนื้อเยื่อของร่างกาย ระยะนี้จะสั้นมากเพราะเป็นระยะที่อันตรายที่สุดในวงจรชีวิต มักพบการสูญเสียกับกุ้งที่สะสม สารอาหารไม่เพียงพอ กุ้งลอกคราบไม่ออก ลอกคราบติด เปลือกนิ่ม ตัวกรอบแกรอบ และมักกินกันเอง
3. ระยะหลังการลอกคราบ (postmolt)หลัง จากการถอดคราบสมบูรณ์แล้ว การสะสมแคลเซียมก็เริ่มต้นทันทีเพื่อช่วยเร่งการแข็งตัวของเปลือก ระยะนี้จะมีการดึงน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายมากที่สุด เพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของร่างกาย มีการสะสมแคลเซียมที่ บริเวณคราบชั้นนอก เมื่อเปลือกเริ่มแข็งก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหว และเริ่มกินอาหารเพิ่มขึ้น หลังจากระยะพักจากการลอกคราบ คราบใหม่แข็งหลัง การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเสร็จสมบูรณ์ อาหารที่กุ้งกินในแต่ละวันจะเริ่มเพิ่มมากขึ้น อาหารที่กินเข้าไปจะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนไปให้สะสมในตับ อยู่ในรูปของสารอาหารพวก โปรตีน ไขมัน และ ไกลโคเจน เพื่อเป็นอาหารและพลังงานสำรองในการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารที่จำเป็นใน การสร้างเปลือกใหม่อีกครั้ง ด้วยกลไกทางธรรมชาติ กุ้งจะรู้ตัวเองว่าสารอาหารต่างๆ ที่สะสมไว้เพียงพอ สำหรับการลอกคราบแล้ว การกินอาหารจะเริ่มลดลงเล็กน้อยและเตรียมเข้าสู่ระยะลอกคราบอีกครั้งเป็น วัฏจักรเช่นนี้ตลอดช่วงความถี่ ในการลอกคราบแต่ละครั้งกุ้งจะมีความถี่และความห่างในการลอกคราบแต่ระยะแตกต่างกันตามอายุของกุ้ง ดังนี้

* กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม(อายุ 3-4 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง

ปรสิต กุ้งก้ามแดง แก้ไขอย่างไร มีคลิปอธิบาย

วิธีการกำจัดปรสิต ให้พ้นไปจากกุ้งเครฟิช






หลังจากตอนที่แล้ว ก็ได้รู้จักกับปรสิต (Parasite) กันไปแล้วในเบื้องต้น  ว่าคืออะไร และส่งผลเสียต่อกุ้งเครฟิชอย่างไรบ้าง  คำถามต่อมาก็คือ  ถ้าหากเราพบปรสิตพวกนี้  แล้วจะมีวิธีจัดการกับพวกมันอย่างไรให้ห่างไกลจากน้องกุ้งของเรา   มาดูขั้นตอนวิธีการในการกำจัด  และรักษาน้องกุ้งของเราจากเจ้าปรสิตพวกนี้กัน
หากพบว่ากุ้งของท่านมีปรสิตอาศัยอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนมากจะอยู่ใต้ท้อง  ตามซอกต่าง ๆ บนตัวกุ้งเช่น  ซอกตา ปาก ซอกขา เป็นต้น  ให้เช็คว่าปรสิตได้มีการวางไข่ไว้บนตัวกุ้งด้วยรึเปล่า  โดยลักษณะของไข่ปรสิตจะเป็นจุดดำ ๆ ที่เกาะแน่นมากไม่สามารถขัดออกได้   ไม่เหมือนฝุ่นซึ่งใช้แปรงขัดก็ออก   หากไม่พบการวางไข่พบแต่ตัวใหญ่ที่อาศัยเกาะกินน้องกุ้งของเรา  ก็ถือว่าโชคดีมาก ๆ  เพราะการกำจัดออกไปทำได้ไม่ยาก  ทีนี้มาดูวิธีการจำกัดการแพร่กระจายของปรสิต
หากพบว่ากุ้งตัวไหนมีปรสิตเกาะหรือมีไข่ปรสิตบนเปลือกให้ทำการแยกเลี้ยงกุ้งตัวนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ปรสิตขยายพันธุ์และไปเกาะกินกุ้งตัวอื่น ๆ ด้วย
ให้นำกุ้งที่มีปรสิตไปแช่ในน้ำเกลือเข้มข้น  น้ำเกลือนี้ต้องเข้มข้นประมาณน้ำหนึ่งขันกับเกลือแกงหนึ่งกำมือ  นำกุ้งแช่ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง   หลังจากนั้นนำกุ้งไปล้างในน้ำสะอาดที่พักแล้วสลัด ๆ ให้แน่ใจว่าปรสิตหลุดออกมาจากตัวกุ้งทั้งหมดแล้วจึงนำกลับไปใส่ในที่เลี้ยง
การทำความสะอาดตู้หรือบ่อเลี้ยง  ทิ้งน้ำทั้งหมด  ทำความสะอาดหินปูพื้น หรือพื้นบ่อให้สะอาด   และเติมน้ำตามปกติ  เติมเกลือแกงลงในบ่อหรือตู้เลี้ยงของท่านปริมาณของเกลือ  เช่น  ตู้ 24 นิ้ว เติมเกลือแกงหนึ่งกำมือ  ถ้าตู้เล็กหรือใหญ่กว่านั้นก็ลดหรือเพิ่มปริมาณของเกลือตามความเหมาะสม  จะช่วยฆ่าเชื้อบางชนิดได้
หากปรสิตได้วางไข่ไว้บนตัวกุ้งแล้วไม่สามารถขจัดออกไปได้  ให้ท่านหมั่นนำกุ้งแช่น้ำเกลือเข้มข้นทุก ๆ 7-10 วัน  เพราะไข่จะฟักตัวออกมา  ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่ากุ้งจะลอกคราบ  เมื่อกุ้งลอกคราบแล้วให้เก็บคราบของกุ้งทิ้งไป     และรอให้กุ้งแข็งแรงกินอาหารได้ประมาณ 1 สัปดาห์  ให้นำกุ้งที่แข็งแรงแล้วแช่น้ำเกลือเข้มข้นอีกรอบ  เพื่อเป็นการกำจัดปรสิตส่วนที่เหลือให้หมดไป   นั่นแหละกุ้งของท่านก็จะกลับมาแข็งแรงมีชีวิตใหม่อีกครั้ง


         ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือ การดูแลพื้นตู้และพื้นบ่อให้สะอาดอยู่เสมอ  เพราะกุ้งเครฟิชเป็นสัตว์น้ำที่กินอาหารด้วยวิธีการกัดแทะ  จึงทำให้มีเศษอาหารต่าง ๆ ตกลงไปตามซอกหิน  และพื้นบ่อ  หากไม่มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอก็จะเป็นแหล่งสะสม  ทำให้เกิดการหมักหมมและก่อให้เกิดปรสิตขึ้นมาได้อีก   เป็นวัฏจักรอย่างนี้เรื่อยไป   ดังนั้น   ขอย้ำว่า  การที่กุ้งเครฟิช จะโต  แข็งแรง หรือจะป่วยตาย  การดูแลความสะอาดพื้นตู้ พื้นบ่อ  เรียกว่าเป็นปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้   หากท่านสามารถดูแลได้อย่างสม่ำเสมอ  กุ้งของท่านจะเติบโตได้ดี  ลอกคราบสม่ำเสมอ  สวยงาม และแข็งแรงแน่นอน
ขอบคุณคลิปดีจากคุณ ชาวร็อคบอกเล่า

กุ้งเป็นสนิมทำไงหายคร้าาบ ทำอย่างไรดี ??

กุ้งเป็นสนิมทำไงหายคร้าาบ ทำอย่างไรดี




คำถามจาก กลุ่มไลน์ และการแก้ไขจากประสบการของผู้เชี่ยวชาญ

คำตอบ
  1. จับแยกใส่บ่อสะอาด ผิวพื้นมันเรียบ อย่าให้มีทราย ใส่ฟ้าทลายโจรผง +น้ำสอาด รอลอกคราบ สวยเหมือนเดิมครับ
  2. อย่าขลิบหาง จะทำให้ติดเชื้อเพิ่ม
  3. อย่าขูดอย่าแคะขยายปากแผล
  4. ยาฆ่าเชื่อชีวภาพดีที่สุด ก็คือ ฟ้าทลายโจรกับเกลือ

เครดิต : TR เรืองศุภลักษณ์

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน‬ จ้า

การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน‬ จ้า


มีหลายคำถามที่เจอบ่อย ยิ่งเวลาที่ผมนั่งขายหน้าร้านตอนเอากุ้งไปลงขายตามงาน หนึ่งในคำถามนั้นคือ “ไม่มีอ๊อกเลี้ยงได้มั้ย?” ไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตามที่ท่านไม่หาอ๊อกมาใส่ แต่คำตอบก็คือ “เลี้ยงได้และมีหลายวิธีครับ” โชคดีที่กุ้งก้ามแดงนั้นอาศัยอยู่ได้แม้ในน้ำจะอ๊อกซิเจนต่ำนอกจากนั้น ยังมีนิสัยที่ชอบปีนปายอะไรก็ตามที่อยู่ในบ่อขึ้นมารับอ๊อกซิเจนบริสุทธิ์จากอากาศได้โดยตรง หลักการเลี้ยงลักษณะนี้มีหลายรูปแบบ เอาไปปรับใช้กับพื้นที่ที่เรามี เลี้้ยงให้ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดเข้าไว้ จะอธิบายไว้เป็นข้อๆนะครับ

1. เลี้ยงใน ตู้ปลา อ่าง กาละมัง กระบะพลาสติก

การเลี้ยงแบบนี้จำเป็นต้องมีกิ่งไม้หรือก้อนหินให้กุ้งปีนได้ แต่ก็ต้องระวังเรื่องกุ้งปีนหนีออกให้ดี ภาชนะต้องปากกว้างให้มีลมพัดผ่านผิวน้ำได้จะดีมาก
ข้อดี
♦ เหมาะสำหรับคนมีพื้นที่น้อย
♦ สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
♦ หาวัสดุเหลือใช้ในบ้านเลี้ยงได้ ต้นทุนต่ำ
ข้อเสีย
♦ สำคัญที่สุดคือดูแลเรื่องน้ำให้ดี อย่าให้น้ำเน่า
♦ ไม่เหมาะกับช่วงอากาศหนาว อุณหภูมิ เปลี่ยนแปลงบ่อยในรอบวัน
♦ โตช้า ไม่มีสารอาหารในน้ำโดยธรรมชาติ
♦ หากเปลี่ยนน้ำบ่อยเกินไปกุ้งจะตายเพราะลอกคราบไม่ผ่าน เนื่องจากสะสมแร่ธาตุไม่ทัน ทางที่ดีควรมีภาชนะรองน้ำเลี้ยงเก่าเอาไปตากแดด 1สัปดาห์สามารถรีไซเคิลมาเลี้ยงใหม่ได้ จะมีแพลงตอนเล็กๆเกิดด้วย
♦ เลี้ยงได้จำนวนน้อย

2. เลี้ยงในบ่อปูน บ่อผ้ายาง

ควรเลี้ยงแบบโดนแสงแดด จำลองธรรมชาติ ควรใส่ดินปลูกบัวลงไป หรือหากมีดินเหนียวมั่นใจว่าปลอดสารพิษแถวบ้านก็ใช้ได้ ระวังยาฆ่าปูในนาข้าว ในบ่อใส่สาหร่ายไว้ สแลน หรือตาข่าย ไว้ให้กุ้งปีน
ข้อดี
♦ ง่ายต่อการสังเกตการเจริญเติบโต การลอกคราบ
♦ หากต้องการให้น้ำใสโดยไม่ใส่ดิน สามารถใช้มูลไส้เดือนกับเศษฟาง หรือหญ้าแห้งแทนได้ ช่วยให้เกิดแพลงตอนในน้ำ
♦ ง่ายต่อการจับขึ้น
♦ จำลองรูปแบบนาข้าว หรือใส่ต้นกก ผักบุ้ง ไม้น้ำต่างๆ จอกแหนมีได้นิดหน่อยแต่อย่าปิดผิวน้ำหมด กุ้งจะอยู่รอดปลอดภัยไม่ต่างอะไรกับใส่อ๊อก
♦ หากไม่ต้องการเปลี่ยนน้ำบ่อย สามารถใส่จุลินทรีย์ไปช่วยกินแอมโมเนีย ของเสียตามพื้นบ่อได้
ข้อเสีย
♦ บ่อผ้ายางถ้าบางไปหรือมีรอยย่นอาจขาดได้ง่าย จากุ้งแทะ
♦ ควรหาวิธีแก้เมื่อฝนตกน้ำล้น ไม่ควรให้ระดับน้ำเกิน20cm ใช้ตาข่ายไนล่อนกั้นไว้ก็ได้


3. เลี้ยงในบ่อดินหรือนาข้าว


กุ้งสามารถปีนขอบบ่อหรือต้นข้าวมารับอ๊อกซิเจนได้ง่าย
ข้อดี
♦ กุ้งได้รับสารอาหารและแร่ธาตุครบถ้วนทำให้โตไว
♦  เลี้ยงได้จำนวนที่มาก
♦ เราไม่ให้อาหารมันก็อยู่ได้
♦ กุ้งรับแสงแดด จะได้วิตามินD เพิ่มประสิทธิภาพของแคลเซี่ยมที่ได้รับ
ข้อเสีย
♦ ต้องกำจัดปลาอันเป็นศัตรูกุ้งให้หมดซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากนอกจากนั้นต้องกั้นขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนไว้กันกุ้งหนีและกันปลาหมอ ปลาไหล ปลาช่อน จากแหล่งน้ำใกล้เคียงอพยพลงบ่อเรา
♦ อีกหนึ่งศัตรูคือนก พื้นที่เล็กๆหรือบ่อน้ำลึกไม่ค่อยมีปัญหาหากแถวนั้นไม่มีพวกนกกาน้ำ ส่วนมากจะมีผลกับทุ่งนาเพราะน้ำตื้น เจ้านกกระยางชอบอยู่แล้ว ควรหาตาข่ายกันนกคลุมไปเลย หากคิดจะเลี้ยงเยอะต้องลงทุนส่วนนี้
♦ ศัตรูกุ้งที่น่ากลัวสุดคือคนนี่แหละครับ โดนลักไปหลายเจ้าละ
♦ ยิ่งบ่อขนาดใหญ่หรือทุ่งนา ต้องสูบน้ำออกหมดเพื่อจับ ใช้แรงงานมาก
♦ บ่อที่ให้อาหารมากเกินไป พื้นบ่อจะเป็นเลนเน่าเสีย อาจจะมีปัญหาปรสิตและโปรโตซัว (ทำให้กุ้งหางเป็นแผลติดเชื้อ หางเลยพอง) ตามมา หากชอบแนวนี้ควรศึกษาเรื่องการจัดการบ่อดิน


4. เลี้ยงในกระชัง

การเลี้ยงในกระชังก็มีการแพร่หลาย นิยมทำกันในแหล่งน้ำที่ลึก หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ข้อดี
♦ แยกไซส์เลี้ยงขุนไซส์ได้ง่าย
♦ น้ำถ่ายเทตลอด มีแร่ธาตุจากน้ำธรรมชาติ
♦ สะดวกในการจัดการในบ่อใหญ่ๆ เมื่อตอนจับขึ้นแค่ยกกระชังไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ
ข้อเสีย
♦ ปลาคือศัตรูตัวฉกาจ ควรหาวิธีป้องกันปลาช่อนหรือชะโดกัดกระชังหรือกระโดดเข้า
♦ ควรหาวิธีป้องกันกระชังขาด
♦ มั่นใจว่าแหล่งน้ำค่าphพอเหมาะไม่มีสารพิษจากโรงงานหรือยาฆ่าหญ้า ฆ่าแมลง
สุดท้ายแล้วอยากจะบอกว่าในการเลี้ยงพื้นที่เล็กการมีเครื่องให้อ๊อกซิเจน ย่อมดีกว่า สามารถเลี้ยงกุ้งได้ในปริมาณที่หนาแน่นกว่า โตไว ลอกคราบผ่านง่าย