วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

โรคของปลาดุกเลี้ยง

โรคของปลาดุกเลี้ยง

ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว

2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง

3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก

4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา

5. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา



วิธีป้องกันการเกิดโรค

ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ

เคล็ดลับพิเศษสำหรับการเลี้ยงปลาดุก

1.เทคนิคการเพิ่มสีและขนาดให้กับปลาดุกด้วยมันหมู
  ทำได้โดยการต้มมันหมูให้สุก นำไปเป็นอาหารปลาดุกวันละครั้ง เมื่อครบสองเดือนเริ่มให้อาหารนี้ จะเป็นการเพิ่มขนาดและสีของปลาดุก

2.เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้โตเร็ว ทนทานต่อโรคด้วยมะเดื่อชุมพร นำมะเดือชุมพรหมักใส่ถุงไม่ให้อากาศเข้า นานหนุ่งเดือนจะได้จุลินทรีย์ นำมาเลี้ยงปลาดุกช่วงอายุประมาณสามเดือน ช่วยเร่งการเติบโต ได้มีน้ำหนักดี

3.การทำให้ปลาดุกที่เลี้ยงบ่อดินผิวสวยสีเหลืองนวลเหมือนปลาดุกนา ก่อนจะจับปลาดุกขายประมาณ 1 เดือน ให้นำกล้วยน้ำหว้าสุกมาบดผสมกับรำรวม ในอัตราส่วนรำรวม 6 ก.ก. ต่อกล้วยสุก 1 หวี ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง หว่านให้ปลาดุกกินทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

4.การเลี้ยงปลาด้วยกล้วยสุกเพื่อเพิ่มความหวานให้เนื้อปลา นำกล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมชนิดต่างๆ ให้ปลากิน ถ้าปลายังตัวเล็กให้ปลาหัดกินอาหารสำเร็จสลับกับกล้วยสุกฝานเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจะให้กล้วยสุกพร้อมเปลือกเป็นลูก เป็นหวี หรือเป็นเครือก็ตามแต่จะสะดวก อาจจะให้กล้วยเป็นอาหารในตอนเย็นสลับกับการให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเช้า หรือจะให้กล้วยเป็นอาหารปลาอย่างเดียวก็ได้ โดยให้ปลากินพออิ่ม วิธีการเช่นนี้สามารถนำไปเลี้ยงปลาได้ทุกชนิด ปลาจะโตเร็ว มีเนื้อแน่น รสหวาน ได้ขนาดตามความต้องการของตลาด

5.เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้ตัวใหญ่ยาวได้น้ำหนัก
หลังจากปล่อยลูกปลาลงบ่อแล้ว ให้อดอาหาร 4 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพของลูกปลาให้เข้ากับน้ำในบ่อ จากนั้นวันที่ 5 ก็เริ่มให้อาหาร โดยให้อาหารลูกปลาดุกในปริมาณที่ไม่ต้องมาก แต่ให้บ่อยครั้ง ลูกปลาจะค่อยๆ เจริญเติบโต หลังจากนั้นเมื่อปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน ให้หยุดให้อาหาร 7 วัน วิธีนี้จะทำให้ปลาดุกผอม และยืดตัวออก แล้วจึงค่อยให้อาหารต่อ ผลที่ได้คือปลาดุกจะตัวโต และยาว ซึ่งเมื่อเห็นว่ามีขนาดพอเหมาะเช่น 2 หรือ 3 ตัวต่อกิโลกรัม ก็สามารถจำหน่ายได้

6.การนำฟางใส่ในบ่อปลาเพื่อขจัดกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสัน การที่นำฟางข้าวมาใส่ในบ่อปลาดุกก่อนที่จะทำการจับปลานั้นมีประโยชน์หลายด้าน ซึ่งเมื่อเรานำฟางข้าวใส่ลงไป ปลาก็จะเข้าไปในฟางข้าวทำให้ตัวปลาเสียดสีกับฟางข้าว และจะทำให้เมือกที่ติดอยู่กับตัวปลาหมดไป และยังทำให้ปลาที่มีสีดำคล้ำ มีสีเหลืองนวลอีกด้วย นอกจากนี้การใส่ฟางข้าวลงไปก่อนจับปลาดุกนั้นยังเป็นการช่วยลดกลิ่นสาบของปลาได้อีกด้วย

7.เทคนิคการเตรียมจับปลาดุกขายให้ได้ราคาและกำจัดกลิ่นคาวปลา งดให้อาหาร 3 วัน ก่อนทำการจับปลา จากนั้นลดน้ำในบ่อให้เหลือประมาณ 80 – 90 เซนติเมตร ก่อนจับปลา 2 วัน แล้วใช้เกลือหว่านลงไปในบ่อ บ่อพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เกลือ 30 กิโลกรัม โดยหว่านก่อนจับปลา 1วัน

การเลี้ยงปลาดุก


 “การเลี้ยงปลาดุก” การเลี้ยงปลาดุกนั้นนอกจากจะเลี้ยงตามบ่อธรรมชาติที่เรารู้จักกันแล้วยังมีวิธีการเลี้ยงปลาดุกที่หลากหลาย อย่างเช่น “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน“, “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก” , “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน” , “การเลี้ยงปลาดุกในโอ่ง“, “การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย” , “การเลี้ยงปลาดุกอุย” , “การเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย” , “การเลี้ยงปลาดุกนา” เป็นต้น ว่าแล้วเราก็ไปดูกันในแต่ละหัวข้อกันเลยครับพี่น้อง







ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงเพื่อการค้า
การเลี้ยงปลาดุก ทั้งที่เลี้ยงเพื่อทำการค้า หรือเลี้ยงภายในครัวเรือน ปลาดุกที่นิยมนำมาเลี้ยงมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้คือการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย,การเลี้ยงปลาดุกอุย,การเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย และการเลี้ยงปลาดุกนา


การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย เลี้ยงง่าย โตไวทนทานต่อสภาพอากาศของบ้านเราได้ดี ไม่ค่อยเป็นโรคง่าย เกษตรกรนิยมเลี้ยงเพื่อทำการค้าเป็นอย่างมาก ปลาดุกบิ๊กอุยเกิดจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกเทศเพศผู้ ปลาดุกบิ๊กอุย มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก การเพาะขยายพันธุ์นั้นให้ผลค่อนข้างดี ลูกปลาดุกบิ๊กอุยมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง ในทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่ชาวบ้านทั่วไปเราเรียกกันว่าปลาดุกบิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ

การเลี้ยงปลาดุกอุย ได้รับความนิยม เช่นเดียวกัน ด้วยลักษณะเด่นที่เติบโตเร็วและทนทานต่อโรคสูง ไม่เป็นโรคง่าย จึงนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ปลาดุกอุย เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ ไม่ได้ข้ามสายพันธุ์เหมือนปลาดุกบิ๊กอุย จึงทนทานโรคกว่า แต่ขนาดอาจจะไม่เท่ากันปลาดุกบิ๊กอุย ข้อดีคือดูแลได้ง่ายกว่านั่นเอง

การเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกรัสเซียเป็นปลาน้ําจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลําตัวยาวครีบหลังและครีบก้นยาว ลําตัวด้านบนมีสีน้ําตาลคล้ําอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลําตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสําคัญของปลาชนิดนี้ครีบมีสีเข้ามกว่าลําตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดงนับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สําหรับในประเทศไทยได้ถูกนําเข้ามาในปีพ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานีโดยนําเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลําตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป


การเลี้ยงปลาดุกนา เนื่องจากปลาดุกนาเป็นปลาพื้นเมือง ข้อดีคือทนทานต่อโรคมาก ไม่ต้องดูแลมากปลาดุกนาก็สามารถเติบโตได้ดี รสชาติอร่อย เนื้อแน่น กลิ่นหอมกว่าปลาดุกพันธุ์ แต่ขนาดยังเป็นรองอยู่ นิยมเลี้ยงกันในครัวเรือน เนื่องจากหาพันธุ์ง่าย


การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 – 100 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 – 80 กก./ไร่
4. นำน้ำในบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 – 40 ซม. หลังจากนั้นรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูนระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ควรมีความลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับโดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ซม./อาทิตย์ ให้อาหารเม็ดประมาณ 3 – 7 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักตัวปลาโดยปล่อยปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตรม.ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 00 – 200 กรัม/ ตัว ในระยะเวลาสั้น ประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80 % ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารก็ได้ แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเสียบ่อยกว่า การถ่ายเทน้ำเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเตรียมบ่อจะแตกต่างจากสองวิธีข้างต้นคือลดต้นทุนจากแบบบ่อปูนซีเมนซ์ เคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า การเตรียมบ่อทำได้โดยอาจจะทำคอกขึ้นมา โครงเป็นเหล็ก หรือกึ่งปูนกึ่งพลาสติกก็ได้ คือปูนทำเป็นโครงและรองด้วยพลาสติกอีกชั้น ข้อดีคือไม่ต้องกังวลเรื่องความเค็มของน้ำ เพราะน้ำไม่ได้สัมผัสกับปูนซีเมนต์โดยตรง เราจึงเริ่มเลี้ยงได้ง่ายและไวกว่านั่นเอง

ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุก
1. อัตราการปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ควรปล่อยประมาณ 40 – 100 ตัว / ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือชนิดของอาหาร ขนาดของบ่อและระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่ว ๆ ไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม.และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลาใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน) ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2 – 3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5 – 7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจน มีความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนม ปังเศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือด ไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลูกปลาเลี้ยงได้ประมาณ 3 – 4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200 – 400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 -14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 – 70%
3.การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 10 – 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้น ในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 – 60 เซนติเมตร หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตร/อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 – 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ

โรคของปลาดุกเลี้ยง
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา
5. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา

สูตรสำเร็จเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน…สร้างรายได้ปีละล้าน!!

สูตรสำเร็จเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน…สร้างรายได้ปีละล้าน!!


“เกษตรกร” จัดเป็นอาชีพนักผลิตที่ทรงภูมิควรแก่การยกย่องสรรเสริญ เพราะเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบด้านอาหารรายใหญ่ จึงได้ชื่อว่ากระดูกสันหลังของชาติ แต่การจะเป็นกระดูกสันหลังที่แข็งแกร่ง จำเป็นจะต้องได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน อันจะนำไปสู่การล่มสลายกลายเป็นคนง่อยหรืออัมพาต จนสุดท้ายต้องออกมาปิดถนน เรียกร้องหาความยุติธรรมจากผู้ถืออำนาจรัฐ เมื่อบทเรียนก็มีให้เห็นปีแล้วปีเล่า ทั้งข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ไฉนเลยเกษตรกรจึงไม่หลาบจำ ทำไมไม่หันมาสร้างภูมิคุ้มกันโดยการพึ่งพาตัวเอง ไม่หวังพึ่งรัฐ และให้ความสำคัญกับการเร่งสร้างคุณภาพมากกว่าการผลิตที่เน้นปริมาณ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง และเลือกขายได้
ดังตัวอย่าง คุณการีม เหมศิริ บ้านเลขที่ 11/13 หมู่ที่ 6 แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (โทร. 08-9679-6318) เกษตรกรคนเก่งแห่งเมืองหลวง ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน หยัดยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง สร้างรายได้ปีละ 1.6-1.7 ล้านบาทเลยทีเดียว
เขตหนองจอกอยู่ในส่วนกรุงเทพฯ ชั้นนอก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดอาชีพการทำเกษตร ดังนั้นสองข้างทางจึงเต็มไปด้วยแมกไม้ และนาข้าวที่เขียวขจี ประหนึ่งยืนอยู่ท่ามกลางชุมชนชนบทไกลปืนเที่ยง หลายชุมชนที่นี่ยังคงยึดอาชีพเกษตรในการหล่อเลี้ยงชีวิต และเกษตรกรที่นี่อาจได้เปรียบตรงที่เป็นแหล่งผลิตที่อยู่ใกล้กับตลาดผู้บริโภคแหล่งใหญ่ คือกรุงเทพฯชั้นใน สินค้าเกษตรหลากหลายชนิดจึงมีพ่อค้าแม้ค้ามาจับจองตั้งแต่ยังไม่ถึงวันเก็บเกี่ยว รวมถึงปลาดุกในบ่อของการีมด้วย เพียงแค่เอ่ยปากว่า “จะขาย” พ่อค้าแม่ขายต่างก็มาเข้าคิว นำอวนและลูกจ้างมาจับปลาไปจากบ่อพร้อมกับจ่ายเงินสดเป็นปึก ๆ เป็นค่าตอบแทน ให้การีมได้แย้มยิ้มหน้าบาน
คุณการีม ให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้านี้ตัวเองไปทำงานอยู่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียในตำแหล่งโอเปอเรเตอร์ เมื่อถึงกำหนดลาพักร้อนจึงลากลับมาเมืองไทย พอกลับมาถึงบ้านมีความรู้สึกว่าตนเองนั่ง ๆ นอน ๆ อยู่เฉย ๆ ไม่ได้ จึงไปช่วยงานน้าชายซึ่งเลี้ยงปลาดุกอยู่
“ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่กลับมาพักที่บ้านก็คลุกคลีอยู่ในบ่อปลาดุกจนกระทั่งเกิดความคิดว่า หลังจากหมดสัญญาที่ไปทำงานยังซาอุฯ จะกลับมายึดอาชีพเกษตร เพราะจะได้อยู่กับครอบครัว อีกอย่างหากเรารู้จักการจัดการและดูแลกิจการให้ดี ๆ การทำเกษตรในบ้านราก็มีรายได้ไม่ต่างจากการไปทำงานที่เมืองนอกเลย”
ภายหลังจากหมดสิ้นสัญญาจ้างงานจากประเทศซาอุดิอาระเบีย การีมก็กลับมาสร้างฝันของตนเองให้เป็นจริง โดยนำเงินที่เก็บสะสมได้จากการทำงานไปซื้อที่ดิน เพื่อขุดบ่อเลี้ยงปลา และพื้นที่นอกเหนือจากบ่อ ก็ได้ปลูกผลหมากรากไม้ เช่น มะม่วง มะยงชิด กล้วย ขนุน ฯลฯ ไว้อย่างหลากหลาย
“ตอนแรกผมขุดเพียงบ่อเดียว พื้นที่ไม่กว้างมากเพราะอยากทดลองเลี้ยงดูก่อน โดยในชุดแรกปล่อยลูกปลาทั้งหมด 1 แสนตัว และใช้อาหารคืออาหารเม็ด ซึ่งผลปรากฏว่าการใช้อาหารเม็ดนั้นต้นทุนจะสูงมากและอัตราการแลกเนื้อจะได้น้อยกว่าอาหารสด ภายหลังจากจับปลารอบแรกเสร็จสิ้น ผมก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะทำให้ต้นทุนการลี้ยงปลาดุกของเราถูกลง และได้ปลาตัวโต น้ำหนักดี ซึ่งตอนนั้นประจวบเหมาะกับทาง บ.บริษัทซีพีได้เปิดประมูลโครงไก่ ผมก็ไปประมูลเพื่อนำมาบดเป็นอาหารให้ปลาดุก และโชคดีที่ผมผ่านการประมูล ทำให้ไม่ต้องกังวลในเรื่องของอาหารปลาอีกต่อไป”
ปัจจุบันการีมได้ขยายบ่อเลี้ยงปลาทั้งหมดเป็นจำนวน 5 บ่อ รวมพื้นที่การเลี้ยงปลาทั้งหมด 14 ไร่ โดยการีมอธิบายการเลี้ยงปลาดุกให้ฟังอย่างละเอียดว่า ภายหลังจากการขุดบ่อเรียบร้อยแล้ว (บ่อใหม่) หรือจับปลาออกจากบ่อเรียบร้อยแล้ว(บ่อเก่า) เราจะต้องตากดินอย่างน้อย 1 เดือน จากนั้นจึงผันน้ำเข้าให้เต็มบ่อแล้วจึงเติมปูนขาว 12 ลูก และ ซีโอไรท์ 5 ลูก (ขนาดบ่อ 4 ไร่ ลึก 1.5 เมตร) และวัดค่า pH โดยค่า pH ที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของปลาดุกคือ 4.5 จากนั้นจึงปล่อยลูกปลาดุกลงในบ่อ 1 แสนตัว โดยการเลี้ยงนั้น ในระยะ 1 เดือนแรกจะใช้อาหารเม็ดสลับกับอาหารสด (โครงไก่บดละเอียด) และภายหลังจากเดือนที่สองเป็นต้นไปจะให้อาหารสดเพียงอย่างเดียว โดยปลา 1 แสนตัว หากเป็นปลาอายุตั้งแต่ 2-5 เดือนจะกินอาหารวันละ 500 กิโลกรัม คิดเป็นต้นทุนค่าอาหารบ่อละ 3,000 บาท รวมจำนวน 5 บ่อคิดเป็นต้นทุนค่าอาหารวันละ 15,000 บาท
ทั้งนี้ในการเลี้ยงปลาดุกนั้นจะต้องใช้เวลาในการเลี้ยง 5 เดือนจึงจะสามารถจับขายได้ โดยปลาดุก 1 บ่อ (1 แสนตัว) จะให้น้ำหนักประมาณ 15 ตัน (1,5000 กิโลกรัม) โดยราคารับซื้อหน้าบ่อจากพ่อค้าในปัจจุบันอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท เมื่อหักลบต้นทุนการผลิตแล้ว ในการเลี้ยงปลาแต่ละรอบจะได้กำไรประมาณ 160,000 -170,000 บาท และใน 1 ปีจะสามารถเลี้ยงได้ 2 รอบ/บ่อ
คุณการีมยังอธิบายอีกว่า อุปสรรคในการเลี้ยงปลาดุกก็คือต้นทุนสูง ถ้าเราจัดการบริหารไม่ดีก็จะไม่มีกำไรเกิดขึ้น ในบางรายแม้ปลาดุกจะได้ราคาดีแต่ระบบการจัดการไม่ดีก็มีเหตุให้ต้องหยุดเลี้ยงไปก็มี เนื่องจากมองไม่เห็นกำไร นอกจากอุปสรรคในเรื่องต้นทุนการผลิตแล้วในเรื่องของโรคก็สำคัญ โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคดีซ่าน ซึ่งจะเป็นมากในช่วงหน้าหนาว โดยลักษณะอาการคือปากเปื่อย ตัวเปื่อย หางเปื่อย โรคชนิดนี้หากเป็นแล้วจะเป็นโรคร้ายแรงและทำให้ปลาตายยกบ่อได้ วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคนี้คือหมั่นสังเกตน้ำไม่ให้น้ำเสีย คือมีสีเขียวเข้มจัดเกินไป หากน้ำมีสีเข้มจัดควรผันน้ำใหม่เข้ามาเพิ่มในบ่อและเติมซีโอไรท์เพื่อปรับคุณภาพน้ำลงไปประมาณ 10 ลูก
และหากสังเกตเห็นว่าปลากำลังเริ่มเป็นโรคให้ใช้ยา ชื่อสามัญ โคไมซิน คลุกกับอาหารเม็ดหว่านให้ปลากินจนปลาหายขาดจากโรค จึงให้อาหารสดตามปกติ นอกจากนี้อุปสรรคอีกอย่างคือในเรื่องของภัยธรรมชาติ เช่นปี 2554 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ปลาในบ่อก็ออกไปหมดเช่นกัน ในรอบการเลี้ยงรอบนั้นขาดทุนกว่า 3 ล้านบาท แต่ก็ยังโชคดีที่ธนาคารได้พักชำระหนี้ให้ระยะหนึ่ง จึงทำให้ผมสามารถฟื้นตัวได้อีกครั้ง และอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ผมอยากฝากไว้เป็นแนวคิดกับคนที่คิดจะเลี้ยงปลาก็คือ “ลูกจ้าง” ต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ ไม่เช่นนั้นตกกลางคืนคนงานเหล่านี้ก็จะขโมยปลาเราไปขาย ซึ่งผมก็เคยประสบเหตุดังกล่าวมาเช่นกัน จึงทำให้ปัจจุบันต้องลงมาทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ถึงจะเหนื่อยหน่อย ถ้ามันคุ้มค่าเหนื่อยก็ต้องลงมือทำด้วยตัวเองครับดีกว่าปล่อยให้เขามาโกงเรา” คุณการีม กล่าวทิ้งท้าย

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิธีเลี้ยงกุ้งฝอย และ เคล็ดลับการเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งฝอยตั้งแต่เบื้องต้น

วิธีเลี้ยงกุ้งฝอย และ เคล็ดลับการเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งฝอยตั้งแต่เบื้องต้น



กุ้งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างดีแบบต่อเนื่องมาตลอดน่ะค่ะ กุ้งมีหลายสายพันธ์ุและทุกๆสายพันธ์ุล้วนแล้วแต่สร้างรายได้อย่างมากมาย กุ้งฝอย เป็นกุ้งที่เลี้ยงง่ายที่สุดในบรรดากุ้งในแต่ละสายพันธ์ุค่ะ ต้นทุนในการเลี้ยงก็ถูกกว่ากุ้งชนิดอื่นมาก แต่ว่ารายได้ที่ได้รับไม่แพ้บรรดากุ้งชนิดอื่นเลย แถมยังเลี้ยงง่าย ขยายพันธ์ุไวอีกต่างหาก ที่สำคัญเป็นที่ต้องการทางการตลาดอย่างต่อเนื่องค่ะ วันนี้ผู้เขียนมีวิธีการเพาะเลี้ยงกุ้งฝอย สำหรับมือใหม่ที่ต้องการหารายได้เสริม หรือว่าต้องการทำเป็นอาชีพหลักก็น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ ติดตามเทคนิค ข้อมูลดีๆ ด้านการเกษตรได้ทุกชนิด





กุ้งฝอยโดยปกติธรรมชาติ จะมีตามแม่น้ำหรือคูคลองต่างๆ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยจะมีให้เห็นกันมากนัก กุ้งฝอยเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหาร หรือแม้กระทั่งนำไปเป็นอาหารของสัตว์ชนิดอื่น เพราะฉนั้นชาวเกษตรกรจึงหันมาให้ความสนใจและเพาะเลี้ยงกันเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้นทุนต่ำและการขยายพันธ์ุของกุ้งฝอยนั้นขยายพันธ์ุง่าย ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงไม่นาน แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ ปัญหาในการเพาะเลี้ยงก็มีแตกต่างกันออกไป วันนี้ผู้เขียนก็มีข้อมูลและเทคนิคในการเลี้ยงกุ้งฝอยมาฝากท่านผู้อ่านมือใหม่ที่กำลังสนใจในการเลี้ยงกุ้งฝอยน่ะค่ะ


สำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงกุ้งฝอย ถ้ามีพื้นที่ไม่มากนักสนใจเพาะเลี้ยงในบ่อปูน ผู้เขียนก็มีเทคนิคในการเตรียมบ่อก่อนลงเลี้ยงกุ้งฝอยค่ะ

การเตรียมบ่อปูนก่อนลงกุ้งฝอย วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้

  • ต้นกล้วยแก่ 
  • เกลือทะเล 1-2 กำมือ
  • พืชน้ำเช่นจอกแหนต่างๆ
  • ท่ออ๊อกซิเจน 
  • ใบก้ามปูแห้ง



วิธีและขั้นตอนในการเตรียมบ่อก่อนลงกุ้งฝอยสำหรับ บ่อปูนน่ะค่ะ

  • ใส่น้ำให้เต็มบ่อปูนแล้วตัดต้นกล้วย ใส่ลงไปแช่ในบ่อผ่าเป็นซึกกลางแล้วตัดเป็นท่อนๆ แช่ไว้ในบ่อประมาณ 7-14 วันเป็นอย่างน้อย


  •  เมื่อแช่ต้นกล้วยในบ่อได้ตามวันเวลาที่กำหนดแล้ว ให้เอาน้ำจากออกจากบ่อปูนให้หมด ใส่น้ำลงไปให้เต็มบ่อปูน และใส่เกลือทะเล ลงไปในบ่อปูนประมาณ 1-2 กำมือ พักน้ำไว้ 1 วัน น้ำที่ใช้ถ้าเป็นน้ำปะปาก็จะมีดีกว่าน้ำบาดาล แต่ว่าก็จะมีข้อเสียคือมีคลอรีนเพราะฉนั้นจึงจำเป็นต้องแช่บ่อเพื่อให้คลอรีนเจือจางค่ะ และก็เปิดอ๊อกซิเจนเพื่อเพิ่มอากาศให้กับน้ำในบ่อปูน

  •  เมื่อได้เตรียมความพร้อมของบ่อปูนและได้เตรียมน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็หาพืชน้ำมาลงบ่อ แต่ก่อนที่นำพืชน้ำต่างมาลงในบ่อควรล้างให้สะอาดก่อนนำมาใส่ในบ่อน่ะค่ะ เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆที่ติดมากับพืชที่จะนำมาใส่ค่ะ และถ้าให้ดี ใส่ใบก้ามปูแห้งลงไปในบ่อด้วยก็ดีน่ะค่ะเพราะจะป้องกันโรคพยาธิในกุ้งฝอยได้ด้วยค่ะ
เรียบร้อยค่ะเทคนิคง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้ามน่ะค่ะ ลองนำมาประยุกต์ใช้ก่อนการเลี้ยงกุ้งฝอยน่ะค่ะ สำหรับกุ้งฝอยที่จะนำมาลงเลี้ยงนั้น หาได้ง่ายๆตามแหล่งธรรมชาติ หรือเลือกซื้อตามตลาดที่แม่ค้าพ่อค้านำมาขาย ก็เลือกเอาที่ท้องมีไข่ มาเพาะเลี้ยงไม่เกิน 1 สัปดาห์ ลูกกุ้งก็จะออกมาเดินเต็มบ่อให้เราชื่นชมแล้วค่ะ แต่ก่อนที่จะนำกุ้งฝอยลงบ่อ ก็ต้องมีการจัดการให้ดีก่อนการนำไปลงในบ่อน่ะค่ะ





เทคนิคก่อนนำพันธ์ุกุ้งมาลงบ่อปูนที่เตรียมไว้

  • นำกุ้งมาใส่ไว้ในถังหรือกะละมัง แล้วนำน้ำที่เราเตรียมไว้ในบ่อปูน มาใส่พอให้ท่วมตัวกุ้ง ใส่อ๊อกซิเจนเปิดเบาสุด พักไว้ประมาณ 10 นาที แล้วก็ให้คัดกุ้งฝอยตัวที่ตายออก ทิ้งให้กุ้งปรับตัวเข้ากับสภาพน้ำได้แล้ว ก็ให้นำไปใส่บ่อปูนที่เตรียมไว้ ทำให้เบามือที่สุดน่ะค่ะป้องกันไม่ให้กุ้งเกิดอาการตกใจค่ะ 

  • เทคนิคและขั้นตอนในการเตรียมบ่อปูนและเตรียมน้ำ ก่อนนำกุ้งฝอยลงไปเพาะเลี้ยงเป็นวิธีการง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้ามน่ะค่ะ สำหรับกุ้งฝอยที่เราได้นำลงในบ่อแล้ว นั้นสำหรับอาหาร ช่วงวันแรกไม่ต้องให้อาหารน่ะค่ะ ให้สังเกตุดูว่ากุ้งจะปรับสภาพเข้ากับบ่อและน้ำที่เราได้เตรียมไว้ได้มากขนาดไหน 
  • ระยะเวลาในการให้อาหารกับกุ้งนั้น ควรเป็นวันที่ 2 หรือ 3 หลังจากที่ได้นำลงไปบ่อแล้ว สำหรับอาหารกุ้งก็จะมีหลายอย่างด้วยกัน เพราะกุ้งฝอยเป็นสัตว์ประเภทที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้เกือบทุกอย่าง เช่น อา


  • หารของกุ้งฝอย/อาหารปลาดุก บดละเอียด/รำ ผสม กับไข่แดงต้มสุก/อาหารสำเร็จสำหรับกุ้ง/เต้าหู้หลอด การให้อาหารกุ้งฝอยไม่ควรให้เยอะ ให้แค่วันล่ะ1ครั้ง ช่วงเย็นๆก็พอค่ะ อาหารเสริมก็จะเป็นประเภท ไส้เดือนกับไรแดงค่ะ
  • การแยกแม่พันธ์กุ้งฝอยนั้นก็ดูไม่ยากค่ะ เมื่อเพาะเลี้ยงไปได้ ไม่น่าจะเกิน2สัปดาห์ ให้ลองตักขึ้นมาคัดตัวตัวกุ้งฝอยที่ท้องเริ่มมีไข่ ให้คัดออกแยกบ่อ เพื่อจะได้ขยายพันธ์ุต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการแออัดของจำนวนกุ้งด้วยค่ะ กุ้งฝอยนั้นจะผสมพันธ์ุกันตลอดทั้งปี และกุ้งฝอย1แม่จะสามารถออกไข่ได้ ประมาณ 60-80 ฟอง เพราะฉนั้นแล้วจึงจำเป็นต้องคัดแม่กุ้งฝอยที่ท้องมีไข่ออกจากบ่อเดิมค่ะ และเมื่อแม่กุ้งได้สลัดไข่ออกลงเดินแล้ว ต้องจับแยกแม่กุ้งออกจากบ่อทันทีด้วยน่ะค่ะ เพราะแม่กุ้งจะกินตัวอ่อนของตัวเองค่ะ 
  • สำหรับการเพาะเลี้ยงในกระชัง หรือ เลี้ยงในบ่อดิน ถ้าบ่อไม่ได้เลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำชนิดอื่นมาก่อน ก็ให้เตรียมบ่อโดยการใส่ปุ๋ยคอกลงไปในบ่อดิน ประมาณ 30-50 กก ต่อบ่อโดยใส่น้ำไม่ให้สูงเกิน 30 เซนติเมตร พักไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ จนปุ๋ยคอกเริ่มเป็นสีเขียวเหมือนตะไคร่น้ำค่อยใส่น้ำเข้าไปให้เต็มบ่อ แล้วให้หาพืชน้ำมาลงในบ่อ เพื่อเลียนแบบธรรมชาติมากที่สุด 


  • ระยะเวลาในการจับกุ้งฝอยเพื่อจำหน่าย ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนก็สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เลี้ยงได้แล้วค่ะ การเลี้ยงในบ่อดินหรือตามสวนต่างๆจะสามารถ ให้จำนวนการขยายพันธ์ุได้มากกว่าการเลี้ยงในบ่อปูนเพราะมีพื้นที่มากกว่า อาหารกุ้งฝอยที่เลี้ยงในบ่อดิน สามารถให้ได้แบบเดียวกันกับการเลี้ยงในบ่อปูนค่ะ

 ราคาของกุ้งฝอย ไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมล่ะ 200-400 บาท ถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจอาชีพหนึ่งทีเดียวค่ะ



กุ้งฝอยนอกจากจะเลี้ยงเพื่อนำมาปรุงเป็นอาหารที่ยอดฮิต อย่างกุ้งเต้น หรือเรียกกันแบบสวยๆอย่างกุ้งโคโยตี้แล้วก็ยังมีอีกหลายเมนูที่นิยมกันนำไปรับประทานน่ะค่ะ และสำหรับท่านที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือรายได้หลักแล้วล่ะก็ การเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจมากทีเดียวค่ะ เนื่องจากว่า ต้นทุนและการดูแลไม่มากเหมือนกับกุ้งชนิดอื่น และยังเป็นที่ต้องการทางตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นอาหารของเราๆท่านๆแล้ว ยังสามารถนำไปจำหน่ายเป็นอาหารของสัตว์น้ำได้อีกด้วย ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเว็บบ้านน้อย ไม่มากก็น้อยน่ะคะ ติดตามข้อมูลและเทคนิคดีๆ ด้านการเกษตรได้ทุกชนิด ได้ที่นี่ Baannoi.com
ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลต่างๆจากแหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตต่างๆ และจากประสบการณ์ส่วนตัวในการทดลองเลี้ยงกุ้งฝอย หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้เขียนขออภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยน่ะคะ ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก  เพจกลุ่ม กุ้งฝอย(หัดเลี้ยง,แลกเปลี่ยนประสบการณ์) จังหวัดเชียงใหม่ค่ะ