การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร ทำไมถึงลอกคราบไม่ผ่าน
เลี้ยงกุ้งโกสในแก้ว
การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร ทำไมถึงลอกคราบไม่ผ่าน
การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร
การลอกคราบนั้นถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการเจริญเติบโตของกุ้ง เครย์ฟิชเลยทีเดียวครับ การลอกคราบนั้นแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตขึ้น ลูกกุ้งเล็กๆ อาจลอกคราบได้บ่อยถึงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเลยทีเดียว โดยระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะค่อยๆ ยาวนานกว่าเดิมเมื่อกุ้งเติบโตขึ้น ยิ่งโตขึ้นความถี่ในการลอกคราบก็ยิ่งน้อยลง โดยกุ้งเครย์ฟิชที่โตเต็มที่นั้นอาจลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น
การสังเกตุกุ้งที่จะลอกคราบ
ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่กุ้งเครย์ฟิชจะลอกคราบ เค้าจะกินอาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มทึบ หรือสีเข้มขึ้นนั่นแหละครับ และกุ้งเครย์ฟิชนั้นก็จะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นกุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวที่อ่อนนิ่ม และอ่อนแอมาก เมื่อได้ที่เหมาะสมแล้วเจ้ากุ้งเครย์ฟิชก็จะค่อนข้างอยู่นิ่งๆ รอเมื่อถึงนาทีก่อนที่จะลอกคราบ บางตัวเมื่อจะถึงนาทีที่จะสลัดเปลือกเก่าออกนั้น ก็อาจหาอะไรกิน กินทุกอย่างที่ขวางหน้าเสมือนกับตุนเสบียงเอาไว้นั่นเอง
ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่กุ้งเครย์ฟิชจะลอกคราบ เค้าจะกินอาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มทึบ หรือสีเข้มขึ้นนั่นแหละครับ และกุ้งเครย์ฟิชนั้นก็จะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นกุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวที่อ่อนนิ่ม และอ่อนแอมาก เมื่อได้ที่เหมาะสมแล้วเจ้ากุ้งเครย์ฟิชก็จะค่อนข้างอยู่นิ่งๆ รอเมื่อถึงนาทีก่อนที่จะลอกคราบ บางตัวเมื่อจะถึงนาทีที่จะสลัดเปลือกเก่าออกนั้น ก็อาจหาอะไรกิน กินทุกอย่างที่ขวางหน้าเสมือนกับตุนเสบียงเอาไว้นั่นเอง
อวัยวะที่หายไป จะกลับมาดังเดิม
ไม่ว่าจะเป็นก้าม ขาเดิน หรือขาสำหรับว่ายน้ำที่หลุดหักไปจากการต่อสู้ การขนย้าย หรือการสลัดทิ้งครั้งก่อน กุ้งเครย์ฟิชสามารถซ่อมแซมโดยการสร้างขึ้นมาใหม่เองได้ โดยผ่านกระบวนการลอกคราบ ในกรณีที่เป็นอวัยวะชิ้นใหญ่อย่างก้าม อาจจะต้องใช้เวลาลอกคราบถึง 2-3 ครั้ง ถึงจะสามารถสร้างก้ามใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์และขนาดเท่าเดิมได้ ส่วนอวัยวะเล็กๆ น้อยๆ อย่างหนวด หรือขาเดินนั้น การลอกคราบเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เหมือนเดิม ทั้งนี้ กุ้งสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หมด ยกเว้นดวงตา
เมื่อผู้เลี้ยง สังเกตเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรทำการรบกวน เพราะว่าอาจเป็นการทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบ ซึ่งเมื่อกุ้งเครย์ฟิชตกใจจะทำให้กระบวนการลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ามักจะยังติดอยู่ในขณะที่เปลือกชุดใหม่ก็เริ่ม แข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เปลือกสองชั้นนั้นซ้อนทับกันอยู่ จึงอาจจะทำให้ก้ามชุดใหม่มีการขึ้นผิดรูป บางทีอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากพลั้งเผลอไปแต่น้องกุ้งยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจฟูมฟาย รอลอกคราบครั้งต่อๆ ไปก็แล้วกัน หวังว่าคงกลับมาดีดังเดิมในไม่ช้าครับ
ที่มา RCIC Society
ความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับการลอกคราบของกุ้ง
องค์ประกอบหลักของเปลือกส่วนใหญ่ประมาณมากกว่า 75%
จะเป็นไคติน ที่เหลือจะเป็นพวกแร่ธาตุ เกลือ โปรตีนและไขมัน โดยขบวนการลอกคราบของกุ้งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุกุ้ง, ปริมาณสารอาหารที่ จำเป็น, ความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและตัวกุ้ง รวมทั้งผลกระทบเชิงลบต่างๆ ที่ชะงักการกินอาหารของกุ้ง ในช่วงระหว่างที่กุ้งลอกคราบจะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ดังนี้การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาที่เกิดขึ้นในวงจรการลอกคราบ
1. ระยะก่อนการลอกคราบ (Premolt) มีการเปลี่ยนแปลงคือปลาย ระยะก่อนการลอกคราบกุ้งจะไม่กินอาหาร จะสังเกตได้ว่ากุ้งเริ่มกินอาหารไม่หมด แต่กุ้งจะดึงสารอาหารและพลังงานจากอาหารที่สะสมไว้ที่ตับมาใช้แทน การสร้างคราบใหม่ จะเริ่มสร้างไคตินจากอาหารที่สะสม ไกลโคเจนที่ถูกสะสมไว้จะลดลงเนื่องจากถูกนำไปสร้างไคตินในการพัฒนาให้ เปลี่ยนเป็นเปลือกใหม่ ในระยะนี้จะพัฒนาเข้าสู่ระยะลอกคราบเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหารที่จะพัฒนาเป็นเปลือกใหม่หากกุ้งได้รับสารอาหารและเปลี่ยนเป็นไคติ นได้มากก็จะลอกคราบได้เร็ว แต่ในกรณีหากเกิดปัญหาการกินชะงัก หรือสารอาหารไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไคติน ในเปลือกใหม่ช่วงระยะเวลาในการลอกคราบ ก็จะยืดออกไป3-5 วัน ระยะนี้ความต้องการออกซิเจนของเซลล์จะเพิ่มมากขึ้น จะมีการดูดซึมพวกแร่ธาตุและสารอินทรีย์ต่างๆ ที่สะสมอยู่ที่เปลือกเก่ากลับเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านระบบเลือด ทำให้คราบเก่าอ่อนนุ่มลง
2. ระยะลอกคราบ (Intermolt) มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ใน ระยะนี้กุ้งจะหยุดการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ปริมาณกลูโคส, โปรตีนและไขมัน ในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากกุ้งต้องใช้พลังงานมากในการลอกคราบ เมื่อลอกคราบเสร็จแล้วจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดูดซึมจากกระแสเลือดและเนื้อเยื่อของร่างกาย ระยะนี้จะสั้นมากเพราะเป็นระยะที่อันตรายที่สุดในวงจรชีวิต มักพบการสูญเสียกับกุ้งที่สะสม สารอาหารไม่เพียงพอ กุ้งลอกคราบไม่ออก ลอกคราบติด เปลือกนิ่ม ตัวกรอบแกรอบ และมักกินกันเอง
3. ระยะหลังการลอกคราบ (postmolt)หลัง จากการถอดคราบสมบูรณ์แล้ว การสะสมแคลเซียมก็เริ่มต้นทันทีเพื่อช่วยเร่งการแข็งตัวของเปลือก ระยะนี้จะมีการดึงน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายมากที่สุด เพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของร่างกาย มีการสะสมแคลเซียมที่ บริเวณคราบชั้นนอก เมื่อเปลือกเริ่มแข็งก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหว และเริ่มกินอาหารเพิ่มขึ้น หลังจากระยะพักจากการลอกคราบ คราบใหม่แข็งหลัง การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเสร็จสมบูรณ์ อาหารที่กุ้งกินในแต่ละวันจะเริ่มเพิ่มมากขึ้น อาหารที่กินเข้าไปจะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนไปให้สะสมในตับ อยู่ในรูปของสารอาหารพวก โปรตีน ไขมัน และ ไกลโคเจน เพื่อเป็นอาหารและพลังงานสำรองในการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารที่จำเป็นใน การสร้างเปลือกใหม่อีกครั้ง ด้วยกลไกทางธรรมชาติ กุ้งจะรู้ตัวเองว่าสารอาหารต่างๆ ที่สะสมไว้เพียงพอ สำหรับการลอกคราบแล้ว การกินอาหารจะเริ่มลดลงเล็กน้อยและเตรียมเข้าสู่ระยะลอกคราบอีกครั้งเป็น วัฏจักรเช่นนี้ตลอดช่วงความถี่ ในการลอกคราบแต่ละครั้งกุ้งจะมีความถี่และความห่างในการลอกคราบแต่ระยะแตกต่างกันตามอายุของกุ้ง ดังนี้
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม(อายุ 3-4 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม(อายุ 3-4 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น